เขียนโดย Super User

       13-15 พฤศจิกายน 2562 สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) โดยนายพรหมมินทร์ กัณธิยะ (ผอ.สคอ.) และนายกษิดิศ ขันธรัตน์ (ผจก.สคอ.) เข้าร่วมงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาผู้นำของภาคีเครือข่ายสำนัก 1 (เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด) และสำนัก 10 (การพนัน ภัยพิบัติ อุบัติเหตุ) เพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดีให้เยาวชนไทย ภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดีของเยาวชนไทย Imagine Thailand Movement – Collaboration for the Youth Health & Wellbeing in Thailand โดยมี นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะ 1 และ นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนัก 1 และ สำนัก 10 กล่าวต้อนรับและความควาดหวังต่อการรวมกันครั้งนี้
      วันที่ 2 ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาผู้นำของภาคีเครือข่ายสำนัก1 (เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด NCDs) และสำนัก 10 (การพนัน ภัยพิบัติ อุบัติเหตุ) โครงการพัฒนารูปแบบความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดีของเยาวชนไทย โดยวันนี้ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มาร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้วย พร้อมเล่า เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ประจำปีของ สสส. ซึ่งวันนี้นอกจากท่านจะให้ข้อคิดในการทำงานร่วมกันแล้ว ยังให้ข้อคิดถึงการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง โดยมีคำคมที่ท่านฝากไว้ คือ "การเปลี่ยนแปลงเป็นสามัญ สำคัญเราต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้"
     วันที่ 3 มีการบรรยายเรื่อง “Positive deviance” เปลี่ยนสังคมด้วยคนไม่ธรรมดา โดย ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ พร้อมทั้ง Workshop การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนภาคี และให้ภาคีร่วมแสดงความคิดเห็นแนวทางการขับเคลื่อนงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากเพื่อนภาคี รวมถึงการปรึกษาหารือทิศทางการทำงานกันในระยะต่อไป จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2562 ณ. โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ห้อง สิริประภา โรงแรมบัดดี้ โอเรียนทอล ริเวอร์ไซด์

  

  

  

  

  

  

  

0
0
0
s2smodern
เขียนโดย Super User

      18 พ.ย.62 ​สำนักงาน​เครือข่าย​ลด​อุบัติเหตุ​ โดยนายพรหมมินทร์​ กัณธิยะ ผู้​อำนวยการสำนักงาน​เครือข่าย​ลด​อุบัติเหตุ​ ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน มุ่งลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ สร้างความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 3/2562 เตรียมความพร้อมแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่พ.ศ.2563 เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือน้อยที่สุด พร้อมขับเคลื่อนโครงการ “ตำบลขับขี่ ปลอดภัย” มุ่งลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในสังคมไทยอย่างยั่งยืน โดยมี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 3/2562

  

  

0
0
0
s2smodern
เขียนโดย Super User

     วันที่ 20 พ.ย.62  สคอ.นำคณะสื่อมวลชนและเครือข่ายเดินทางศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบ ณ ศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า(เชียงใหม่) ร่วมเรียนรู้ ทักษะขับขี่ปลอดภัย “ฝึกก่อนใช้ปลอดภัยกว่า” หนึ่งในกิจกรรมการประชมขับเคลื่อนประชาสัมพันธ์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างกระแส ร่วมวิเคราะห์ ค้นหาปัญหาและวางแผนแก้ไข ผลักดันนโยบายให้เป็นรูปธรรม จัดโดย สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ) สำนักงานกองทุนสนับสนับการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย สมาคมสื่อช่อสะอาด สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย สมาคมเครือข่ายหมออนามัยวิชาการ เครือข่ายบรรณาธิการ 17 จังหวัดภาคเหนือ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด โดยมี นายนายอารักษ์ พรประภา รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด พร้อมคณะครูฝึกให้การต้อนรับและกล่าวถึงความเป็นมา วัตถุประสงค์ของการตั้งศูนย์ฯ จากนั้นพาคณะไปดูการฝึกขับขี่รถจักรยานยนต์สนามฝึกจริง เพื่อให้สื่อมวลชนและภาคีเครือข่ายได้เห็นกระบวนการฝึก รวมถึงข้อแนะนำในการขับขี่ที่ปลอดภัย สามารถนำไปถ่ายทอดต่อได้อย่างถูกต้อง ณ ศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า(เชียงใหม่) อ.ดอยสะเก็ด จ. เชียงใหม่

  

  

  

  

  

  

  

  

  

  

0
0
0
s2smodern
เขียนโดย Super User

     สคอ.และภาคี หนุนขับขี่ปลอดภัย “ฝึกก่อนใช้ปลอดภัยกว่า”วันที่ 20 พ.ย.62 สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ) สำนักงานกองทุนสนับสนับการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย สมาคมสื่อช่อสะอาด สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย สมาคมเครือข่ายหมออนามัยวิชาการ เครือข่ายบรรณาธิการ 17 จังหวัดภาคเหนือ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด จัดประชมขับเคลื่อนประชาสัมพันธ์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างกระแส ร่วมวิเคราะห์ ค้นหาปัญหาและวางแผนแก้ไข ผลักดันนโยบายให้เป็นรูปธรรม โดยมีแกนนำผู้บริหาร ได้แก่ นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ นายแพทย์ประดิษฐ์ รุ่งพิบูลย์โสภิษฐ์ หัวหน้าโครงการสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจร ในระดับจังหวัด (สอจร.) ภาคเหนือตอนล่าง
    นายชัชวาลย์ คำไท้ คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย นายธานินทร์ วงศ์รักไทย ผู้จัดการภาคเหนือตอนบน บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด นายวิริยา ธรรมเรืองทอง นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย นางสาวเพชรณทัย ไทยสาละวิน ผู้แทนสมาคมสื่อช่อสะอาด นายกสมาคมสื่อช่อสะอาด นายอารักษ์ พรประภา รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด นายอนันท์ ดวงอินต๊ะ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพญาเม็งราย จ.เชียงราย สมาคมเครือข่ายหมออนามัยวิชาการ นายอาทิตย์ แสงสว่าง ประธานเครือข่ายบรรณาธิการ 17 จังหวัดภาคเหนือ ร่วมให้ข้อมูล และแนวทางการสื่อสารเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ณ โรงแรม ดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลก จัดอันดับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยลดลงมาอยู่ที่อันดับ 9 ของโลกจากอันดับ 2 ขณะที่กรมการขนส่งทางบกระบุว่าจำนวนรถจดทะเบียนสะสมทั่วประเทศจนถึงปัจจุบันกว่า 38 ล้านคัน เป็นรถจักรยานยนต์ 20 กว่าล้านคัน มีใบอนุญาตขับขี่เพียง 13 กว่าล้านใบเท่านั้น ส่วนยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือรถจักรยานยนต์ ซึ่งที่ผ่านมาการขับขี่รถมอเตอร์ไซต์มักใช้วิธีฝึกกันเอง แบบพี่สอนน้อง พ่อสอนลูก และไม่มีใบขับขี่ ทำให้ขาดทักษะที่ถูกต้อง รวมทั้งความรู้ด้านกฎหมายจึงทำให้ความสูญเสียที่เกิดจากรถมอเตอร์ไซต์ตั้งแต่รถแบบครอบครัวไปจนถึงรถขนาดใหญ่ เช่น บิ๊กไบท์ เป็นปัญหาใหญ่สำหรับประเทศไทย การแก้ไขระดับหนึ่งคือการสื่อสารผ่านสื่อมวลชน ชวนผู้ขับขี่เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะความรู้ให้มากขึ้น
นายอารักษ์ พรประภา รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด กล่าวว่า ฮอนด้าได้รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย ภายใต้โครงการ Safety Thailand ทั้งการพัฒนาหลักสูตรขับขี่ปลอดภัยที่เหมาะสมกับสภาพจราจรในประเทศไทย ควบคู่ไปกับการผลิตครูฝึกขับขี่ปลอดภัย เพื่อถ่ายทอดความรู้ ให้กับประชาชนในทุกจังหวัดทั่วประเทศ และมีแนวคิดที่จะผลักดันความรู้ ด้านขับขี่ปลอดภัยขยายออกไปในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งการดำเนินการเช่นนั้นได้ จำเป็นต้องมีวิทยากรเผยแพร่ ความรู้ด้านความปลอดภัยเป็นจำนวนมาก และต้องกระจายไปในสาขาวิชาชีพต่างๆ จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัยที่มีอุปกรณ์การสอนครบถ้วนสมบูรณ์แบบ เพื่อรองรับการขยายตัวดังกล่าว จึงได้ตัดสินใจสร้างศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้าขึ้นในปี พ.ศ. 2537 จนปัจจุบันศูนย์อบรมขับขี่ปลอดภัย มีจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ เชียงใหม่ และภูเก็ต เฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 34,239 คน ด้วยหลักสูตรการขับขี่ที่ได้มาตรฐานระดับสากล จะมีการสอนตั้งแต่ระดับที่ขับรถไม่เป็นมาก่อนไปจนถึงระดับการพัฒนาทักษะเฉพาะ เช่น การฝึกใช้เบรค ทางโค้ง ลูกระนาด การทรงตัวฯ ทั้งนี้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่คนใช้มากและเข้าถึงได้ง่าย ผู้ขับขี่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกทักษะความรู้ กฎระเบียบวินัยจราจร เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่อาจะเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ผู้สนใจที่ฝึกพัฒนาทักษะขับขี่ปลอดภัย สามารถเข้าไปดูรายละเอียด ข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://www.aphonda.co.th/ho…/…/honda-safety-activities.ashx

  

  

  

  

  

0
0
0
s2smodern
เขียนโดย Super User

     วันที่ 21พ.ย.62  วันที่สองของการประชุมขับเคลื่อนประชาสัมพันธ์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างกระแส ร่วมวิเคราะห์ ค้นหาปัญหาและ วางแผนแก้ไข ผลักดันนโยบายให้เป็นรูปธรรม ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางสร้างกระบวนการสื่อสารสู่การป้องกันและลดอุบัตเหตุทางถนน จัดโดย สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ) สำนักงานกองทุนสนับสนับการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย สมาคมสื่อช่อสะอาด สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย สมาคมเครือข่ายหมออนามัยวิชาการ เครือข่ายบรรณาธิการ 17 จังหวัดภาคเหนือ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด ณ โรงแรม ดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
นายกษิดิศ ขันธรัตน์ ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ นำจัดทำกระบวนการระดมความคิดเห็นแกนนำสื่อมวลชนและภาคี เพื่อร่วมสร้างกระบวนการสื่อสารป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ วิเคราะห์จุดเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง และแนวทางแก้ไข พร้อมการนำเสนอรูปแบบการสื่อสารขับเคลื่อนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ที่เหมาะสม ทั้งนี้ในช่วงสุดท้าย แกนนำเครือข่ายได้ขึ้นเวทีเพื่อสรุปและกำหนดแนวทางความร่วมมือของแต่ละองค์กร เพื่อขับเคลื่อนสื่อสารประชาสัมพันธ์และลดอุบัติเหตุทางถนนร่วมกันต่อไป

  

  

  

  

  

  

  

0
0
0
s2smodern